ช่างไฟฟ้า,ช่างยนต์ ถือเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความนิยมสูงในการศึกษาทั้ง 2 สาขา เนื่องจากเป็นที่ต้องการสูงของท้องตลาดแรงงาน อีกทั้งยังมีโอกาศในการศึกษาต่อเป็นวิศวกรได้ง่ายอีกด้วย ทั้งสองสาขาวิชาชีพนี้มีรายละเอียดในการศึกษาใดบ้าง
สาขาวิชาช่างยนต์
สำหรับการเลือกเรียนสายอาชีพสาขาช่างยนต์ ถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการประกอบอาชีพ เพราะทุกวันนี้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกวัน อัตราการใช้บริการซ่อมและเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ย่อมสูงตามไปด้วย ผู้จบสาขาช่างยนต์จึงมีโอกาสสร้างรายได้จากการขยายตัวและการใช้รถส่วนบุคคลทั่วไปได้ และมีโอกาสประกอบกิจการได้สูง อีกทั้งทุก ๆ วันนี้ แต่ละครอบครัวมีรถอย่างต่ำบ้านละ 1 คันขึ้นไป ซึ่งการใช้รถจะมีระยะเวลาบำรุงรักษาทุก ๆ รอบ หรือตามสภาพรถ โอกาสในความเจริญก้าวหน้าของช่างยนต์จึงมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก และสามารถประกอบกิจการส่วนตัวได้
รายละเอียดของสาขาวิชา
ช่างยนต์ คือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในการเกษตร และอื่น ๆ สาขาช่างยนต์มีการจัดการเรียนการสอนเน้นการฝึกทักษะ ประสบการณ์ และการทดลองสิ่งใหม่
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาขาช่างยนต์ เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์ในงานช่าง วัสดุเชื้อเพลิง การถอดประกอบเครื่องยนต์ การคำนวณต่าง ๆ ที่จำเป็นต่องานช่าง วิชากลศาสตร์ วิชาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น
การเรียนสาขาช่างยนต์เป็นสาขาวิชาที่เน้นการฝึกปฏิบัติกับทฤษฎีควบคู่กันและมีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนและฝึกปฏิบัติตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์
แนวทางการศึกษาในระดับสูง
- ปวช. สาขาช่างยนต์
- ปวส. สาขาช่างยนต์/เทคนิคยานยนต์
- ปริญญาตรี/สาขาวิศวกรรมยานยนต์ / กลเกษตร / ครุศาสตร์เกี่ยวกับการสอนสายอาชีพ และสายอื่น ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปสมัครเรียน
ลักษณะของงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
- ซ่อมบำรุงรถยนต์รถจักรยานยนต์ 2. เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในรถหรือเครื่องยนต์ 3. เคาะพ่นสี
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันต่าง ๆ 5. เช็คระบบวงจรรถ 6. ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ 7. แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับเครื่องยนต์
แนวทางการประกอบอาชีพ
- ช่างยนต์ 2.พนักงานทั่วไป 3.พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของภาครัฐและเอกชน 4. พนักงานขนส่งสินค้า 5. นายช่างศูนย์บริการ 6. เจ้าของกิจการคาร์แคร์ 7. เจ้าของกิจการอู่รถ 8. เจ้าของกิจการเต้นท์รถ9. เจ้าของกิจการจำหน่ายอะไหล่รถ
สาขาวิชาช่างไฟฟ้า
สาขาช่างไฟฟ้า เป็นอาชีพที่น่าสนใจและมีโอกาสขยายตัวไปมากที่สุด เนื่องจากทุก ๆ วันนี้อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การใช้ไฟฟ้าการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยผู้มีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น ช่างไฟฟ้าช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับไฟฟ้า และที่สำคัญคือ ทุกบ้านมีไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจำวัน การเลือกเรียนสาขาช่างไฟฟ้าจึงไม่มีโอกาสตกงาน หากไม่เลือกงาน และยังสามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นวิศวกรได้อีกด้วย สำหรับอาชีพช่างซ่อมไฟฟ้า เป็นอาชีพที่จำเป็นสำหรับยุคเทคโนโลยีและเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือว่าเป็นอาชีพที่มีโอกาสขยายตัวได้สูง เมื่อจบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งเป็นพนักงานหรือเจ้าของกิจการได้
รายละเอียดของสาขาวิชา
สาขาช่างไฟฟ้า คือ สาขาที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า เช่น การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน ภายในอากาศ การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ การตรวจเช็คระบบไฟฟ้า การวงระบบวงจรไฟฟ้า แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า เป็นต้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาช่างไฟฟ้า ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้พื้นฐานด้านระบบไฟฟ้า การติดตั้ง การเดินสายไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้าในลักษณะต่าง ๆ การตรวจเช็คระบบไฟฟ้า การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
แนวทางการศึกษาในระดับสูง
- ปวช. สาขาช่างไฟฟ้า / ไฟฟ้ากำลัง
- ปวส. สาขาช่างไฟฟ้า /ไฟฟ้ากำลัง
- ปริญญาตรี/สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า / สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม / ครุศาสตรอุตสาหกรรม และสายอื่น ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปสมัครเรียน
ลักษณะของงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
- งานซ่อมบำรุงไฟฟ้า 2. งานตรวจสอบระบบไฟฟ้า 3. งานติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า 4. งานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า
แนวทางการประกอบอาชีพ
- ช่างไฟฟ้า 2.พนักงานตรวจซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบริษัท 3. พนักงานรัฐและเอกชน 4. ผู้ช่วยวิศวกรไฟฟ้า 5. ช่างติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ 6. ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า 7. เจ้าของกิจการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า 8. เจ้าของกิจการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า 9. พนักงานการไฟฟ้า